อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
ขวัญเมือง
12.59
ขวัญเมือง
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามขวัญเมืองมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ..
12.59
สถานที่ท่องเที่ยว

เลือกภาษา : 

วัดเขาแดง
 
คะแนนโหวต 4.50/5 คะแนน จากผู้โหวต 2 ท่าน

วัดเขาแดงปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 ตำบลสาลิกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก (เดิมเรียกตำบลบ้านบุ่ง) อยู่ห่างจากตัวเมืองนครนายก ประมาณ 7 – 8 กม. ตามถนนสายสาลิกา-นางรอง ตรงสี่แยกประชาเกษม เลี้ยวซ้ายไปทางถนนเขาแดง-โรงเรียนนายร้อย จปร. อีก 1 กม. วัดจะอยู่ทางขวามือ หากเลยไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม คือ น้ำตกลานรัก ที่มาของชื่อ “เขาแดง” นั้น เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ติดเทือกเขาแดงหรือเขาตะขาบ (เรียกตามแผนที่แผ่นระวางกรมที่ดิน) ชาวบ้านเรียก เขาหล่น หรือเขาแดง เพราะมองดูจะเห็นภูเขาลูกนี้โล้นโล่งเตียน เห็นภูเขาเป็นสีแดง จึงเรียกเขาแดง เหตุที่ตั้งอยู่ติดภูเขาลูกนี้จึงเรียกว่า “วัดเขาแดง” ประชาชนในหมู่บ้าน เดิมเป็นคนเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่อพยพมาในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ในระหว่างปี พ.ศ.2321-2322 เกิดสงครามระหว่างกรุงธนบุรี กับกรุงศรีสัตนาคนหุต หรือเวียงจันทร์ สาเหตุเนื่องมาจากเกิดศึกภายในเมืองเวียงจันทร์ ระหว่าพระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทร์ กับเข้าเมืองเวียงจันทร์ พระวอ แพ้หนีมาขอพึ่งนครำปาศักดิ์ และพาพรรคพวกมาตั้งเมืองที่ตำบลดอนมดแดง (จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) เมื่อไทยตีนครจำปาศักดิ์ได้ พระวอ ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาขอพึ่งไทย ครั้นกองทัพไทยยกกลับ เจ้าเมืองเวียงจันทร์ใช้คนไปลอบฆ่าพระวอตาย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงถือว่าทางเวียงจันทร์ดูหมิ่น จึงให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกษา ต่อมาคือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พร้อมกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ต่อมาคือกรมพระราชวังบวร ยกทัพไปตีเวียงจันทร์ รบกันอยู่สี่เดือนเศษจึงได้รับชัยชนะ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ มาไว้ที่กรุงธนบุรีด้วย และได้กวาดต้อนประชาชนชาวเวียงจันทน์มาด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ต่อมาชนลาวกลุ่มนี้ก็อพยพขึ้นมาตามแม่น้ำนครนายก ด้านทิศเหนือจนมาตั้งเป็นที่อยู่อาศัยอยู่ที่ราบลุ่มเทือกเขาแดงปัจจุบัน ชุมชนกลุ่มนี้เป็นคนที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาจึงได้ร่วมกันก่อตั้งวัดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมขอบชุมชนในการบำเพ็ญบุญและพบปะกัน ประชาชนดั้งเดิมในหมู่บ้าน พูดภาษาพื้นบ้าน คือภาษาลาวและลาวพวน (ปัจจุบันก็เรียกไทยพวน) ขนบธรรมเนียมดั้งเดิมต่างๆ เช่น สู่ขวัญข้าว ข้าวประดับดิน ข้าวกระยาสารท บุญบั้งไฟ ยังปฏิบัติกันมาจนทุกวันนี้ ภายในวัดเขาแดง ได้มีพระพุทธนิมิตมงคล ปางพระร่วงประธานพร สูง 8 ศอก มีผู้เล่าว่าเกิดจากการอธิษฐานจิตในการสวดมนต์ไว้พระของจ่าสิบเอกจรูญ พร้อมเพรียง อยู่บ้านท่ากระยาง 75/2 หมู่ 1 ต.ทะเลชุบสร อ.เมือง จ.ลพบุรี ในคืนวันหนึ่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3 คืนติดต่อกัน ของต้นปี พ.ศ.2499 จ่าสิบเอกจรูญ พร้อมเพรียง เข้าห้องพระไหว้พระสวดมนต์แล้วอธิษฐานจิตต่อหน้าองค์พระที่กราบไหว้ที่บ้าน โดยอธิษฐานว่า “ลูกเป็นชาวพุทธ นับถือพระพุทธศาสนา เวลานี้เป็นเวลาใกล้กึ่งพุทธกาล (คือ พ.ศ.2500) ลูกอยากจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 พระวัสสา ลูกอยากจะสร้างพระพุทธรูปเท่าองค์จริง สูง 8 ศอก ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา จะสำเร็จหรือไม่ ขอองค์เทพไท้ผู้มีฤทธิ์ จงมาดลจิตข้าพเจ้าให้เกิดเป็นนิมิตมงคลเถิด” ปรากฏว่าในคืนนั้น และอีกคืนต่อมา รวม 3 คืนติดต่อกัน ช่วงจิตเข้าสู่ภวัง ระหว่างครึ่งหรับครึ่งตื่น เกิดนิมิตเห็นรูปเทวดาแต่งองค์ทรงเครื่องชัดเจนมาก จำได้ติดตา เหาะลอยมาในอากาศหยุดอยู่ระหว่างข้าพเจ้า และพูดเป็นภาษาบาลีว่า “ พุทธปฏิมานิมิตตัง ปฏิมามะมะ อรหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปิตุ มาตา ” เหาะมาและว่าอย่างเดียวกันนี้ถึง ๓ คืนติดต่อกัน ต่อมาข้าพเจ้าทราบว่าเป็นพระคาถาเมตตาของเทวดามาบอก ข้าพเจ้าจำได้แม่นยำตั้งแต่ได้ยินครั้งแรก ข้าพเจ้านำคำอธิษฐาน และคำเทพนิมิตนี้ มาเล่าสู่พระทองพล ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดซาก ลพบุรี และเล่าสู่พระอำคา วิสารโท พรรษา ๖ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาแดง จังหวัดนครนายก ซึ่งข้าพเจ้าให้ความเคารพนับถือ ท่านพระอำคา วิสารโท นำข้าพเจ้าพบและปรึกษากับพระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครนายกสมัยนั้น ท่านเมตตาแนะนำว่า เป็นนิมิตมงคลอันดี จะสำเร็จตามความปารถนา เป็นพระคาถาเทพนิมิต เทพบันดาล แล้วข้าพเจ้าจึงเข้าปรึกษากับผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดซากและผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาแดง แล้วข้าพเจ้าก็เป็นผู้ริเริ่มทั้งทุนทรัพย์และจัดหานายช่างมาออกแบบและทำแบบรูปหล่อ ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทำเป็น ๓ ท่อน ต่อกัน เป็นองค์พระยืน “ ปางพระร่วงประธานพร ” สูง ๘ ศอก ทำพร้อมกัน พิมพ์เดียวกัน ๒ องค์ เมื่อหล่อองค์พระเสร็จเรียบร้อย ก็ทำการแห่เคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดลพบุรี ทั้งสององค์ และทำพระเครื่องเป็นพระผง ๘๔ , ๐๐๐ องค์ นำมาที่วัดเขาแดง เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๙๙ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปี จอ แล้วทำการประกอบต่อองค์พระ ต่อพระเศียร ประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าอุโบสถ หลังปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๒ – ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ จัดงานพุทธาภิเศก ๓ วัน ๓ คืน โดยเฉพาะใน วันที่ ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๙๙ ตรงกับวันพุทธ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ เป็นวันพุทธาภิเศก พระประธานทั้ง ๒ องค์ พร้อมพระเครื่องที่ไว้บรรจุด้วย ประธานสงฆ์ในพิธีคือ พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครนายก ขนานพระนามพระประธานที่สร้างทั้ง ๒ องค์ พระนามเหมือนกันว่า “พระพุทธปฏิมานิมิตมงคล” ต่อมาเพื่อสะดวกในการเรียกพระนาม จึงเรียกว่า “ พระพุทธนิมิตมงคล ” พระนามสั้นเข้าเมื่อ พ . ศ . ๒๕๓๘ จ่าสิบเอกจรูญ พร้อมเพรียง ประธานเจ้าภาพผู้สร้างถวาย ได้มาทอดกฐิน ที่วัดเขาแดง ( อายุ ๘๐ ปีเศษ ) ได้มอบเงินสมทบสร้างวิหารใหม่แทนหลังเก่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนบาท ) และเล่าประวัติการก่อสร้าง ความเป็นมาให้เจ้าอาวาสวัดเขาแดงรูปปัจจุบันเพื่อทราบ และบอกพระคาถาเทพนิมิตที่ได้มาและยันต์องค์พระเพื่อแจกจ่ายให้ศานุศิษย์ นำไปบูชาต่อไป

 

แสดงความคิดเห็น