อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
ขวัญเมือง
16.16
ขวัญเมือง
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามขวัญเมืองมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ..
16.16
ประวัติความเป็นมาของจังหวัด
จังหวัดนครนายก
นครนายกเป็นจังหวัดหนึ่งในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง พื้นที่ของนครนายกปรากฏหลักฐานว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคนั้น เช่น ขวานหินทั้งชนิดมีบ่าและไม่มีบ่า ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว หินดุ แท่นหินเขียว แวดินเผา ขวานสำริด สันนิษฐานว่านครนายกเคยเป็นเมืองโบราณที่มีอายุสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยในสมัยทราวดี จากแหล่งโบราณ "บ้านดงละคร" ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครนายกไปทางทิศใต้ระยะทาง ๘ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเนินดินสูงคล้ายเกาะ เนื้อที่ประมาณ ๖ ตารางกิโลเมตร มีคันดินสูงล้อมรอบเป็นวงรี ด้านนอกคันดินมีคูน้ำล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง มีประตูเข้าออก ๔ ประตู โดยเมืองนี้อาจมีพัฒนาการและอายุร่วมสมัยกับเมืองศรีมโหสถในจังหวัดปราจีนบุรี และเมืองพระรถในจังหวัดชลบุรี ซึ่งโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีหลายยุคหลายสมัยด้วยกัน ประกอบด้วย ระฆังหินสมัยทราวดี พระพุทธรูปสมัยลพบุรี ภาชนะดินเผาสมัยสุโขทัย และอยุธยา เป็นต้น
ในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยากำหนดให้เมืองนครนายกเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศตะวันออก (เมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศเหนือ เมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศใต้ และเมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศตะวันตก ระยะทางจากเมืองหน้าด่านถึง ราชธานีกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาเดินทาง ๒ วัน) ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ตัดเขตท้องที่เมืองลพบุรีทางตะวันออกกับเขตท้องที่เมืองนครนายกทางตะวันตก รวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ เรียกว่า การปกครองมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลปราจีนบุรี ประกอบด้วย เมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองนครนายก เมืองพนมสารคาม เมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมือง บางละมุง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ให้ยุบรวมอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ไปรวมกับจังหวัดสระบุรี และให้ยุบรวมอำเภอเมืองนครนายก อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลีไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี
ประวัติของชื่อ "นครนายก"เป็นราชธานี มีข้อสันนิษฐาน ๒ ประการ ดังนี้ ในสมัยก่อนดินแดนของนครนายกเป็น ป่ารกชัฏมีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนเกือบเป็นเมืองร้าง ต่อมามีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งไม่มีหลักฐานยืนยันว่าในยุคสมัยใด (แต่ก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง แห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะชื่อเมืองนครนายกปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองแล้ว) ต้องการที่จะจูงใจราษฎรให้เข้ามา หักร้างถางพงทำมาหากินอยู่อาศัยในบริเวณนี้จึงให้ยกเว้นเก็บอากรค่านา จึงเรียกเมืองนี้ว่า "เมืองนา–ยก"

และเป็นเมืองนครนายก เหตุผลที่สอง คือ สมัยกรุงศรีอยุธยา การปกครองในเมืองหลวงใช้ระบบจตุสดมภ์ ส่วนการปกครองหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ในหัวเมืองด้านเหนือมีสมุหนายก ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร ในหัวเมืองด้านใต้มีสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร เมืองนครนายกนั้นเดิมอยู่ในสังกัดสมุหกลาโหม ภายหลังถูกโอนให้อยู่ในสังกัดสมุหนายก พื้นที่นี้จึงได้ชื่อว่านครนายกนับแต่นั้นเป็นต้นมา
Nakhonnayok
Nakhonnayok is one of the central provinces. It was evidently recognized that the area of Nakhonnayok was a residence of prehistoric man. Prehistoric tools such as stone axes, stone beads and glass beads, anvil, green stone, earthenware, bronze axes were found there. It is assumed that Nakhonnayok was an old-age ancient city. The evidence of living in the Dvaravati period was found at “Ban Dong Lakon” archaeological site, located 8 kilometers in the south of Nakhonnayok. It was a hill, similar to island, covering approximately 6 square kilometers and surrounded by moats. Outside the moats was surrounded by ditches with 4 entrances. This city might be civilized at the same time of Si Mahosot City in Prachinburi and Praroj City in Chonburi.The ancient artifacts excavated from this area are from different ages including Dvaravati stone bells, Lopburi Buddha images, Sukhothai and Ayutthaya earthenware, etc.
In 1893, Ramathibodi I(Uthong King), the first King of Ayutthaya,designated Nakhonnayokas a frontier city in the east (Lopburi was a frontier city in the north, Nakhon Kuenkhan was a frontier city in the south and Supanburi was a frontier city in the west. It took 2 days from the frontier to Ayutthaya.). In PhraMahaChakkarapat period, the eastern part of Lopburi and the western part of Nakhonnayok were merged to establish new city called Saraburi. In 1902, King Chulalongkorn the Great (Rama V) reformed administrative system, namely county administration. Prachinburicouty was established consisting of Prachinburi City, Chachoengsao City, Nakhonnayok City, PanomSarakham City, PhanatNikhom City, Chonburi City and Bang Lamung City. In 1943, the government of PorPibulsongkram merged Ban Na District in Nakhonnayokinto Saraburi and merged Nakhonnayok District, Ongkharak District and Pak Phil into Prachinburi. On May 2, 1946, there was the establishment of SamutPrakarn, Nonthaburi, SamutSakhon and Nakhonnayok according to the Act B.E. 2489, Section 6, separating Nakhonnayok, Ongkharak District and Pak Phli District from the administration of Prachinburi. Ban Na District was also separated from the administration of Saraburi and established as a province called Nakhonnayok.
There are 2 assumptions for the name “Nakhonnayok”as follows. In the past, the land of Nakhonnayok was covered by wilderness forests so people migrated to other places. This area was almost an abandoned city.Later on, a king, not recognized his era (it should before Ramathibodi I or Uthong King of Ayutthaya because the name Nakhonnayok existed in Uthong’s region), wanted to invite people to reside in this area so he exempted agricultural tax. This city was called “Muang Na-Yok”

(agricultural tax exemption). It later became Nakhonnayok. Secondly, in Ayutthaya Period,Four Pillars Administrative System was applied for central administration while chancellors governed inner cities, outer cities. The northern cities were governed by chancellors, in charge of both civilian and military administration. The southern cities were governed by chancellors, in charge of both civilian and military administration. Originally, Nakhonnayok was under the monarch.It was transferred to the chancellor. As a result, this area was called Nakhonnayok since then.
那空那育府是中心区的一个省。那空那育府地区似乎是一个史前人类栖息地。那个时代人类工具的挖掘,如岩石轴,肩膀没有肩膀的岩石轴,石珠和玻璃珠,关键的石头,绿石,陶器,青铜斧。假设那空那育是一个从过去到现在的古老城市。生活在Dvaravati时期的证据。来自古老的“Ban Dong Lakorn”,距离那空那育府有8公里。这是一个约6平方公里的泥泞岛屿。高耸的悬崖被椭圆形环绕。在沟外,还有另一条沟。有4扇门的入口和出口。这个城市可能已经在巴真武里府的Si Mahosot市和春武里府的Phra Rot市开发并注明日期。这个地区出土的古物来自Dvaravati时期石钟所包含的许多时期,华富里佛像,素可泰时期和大城时期的粘土陶器等。
1893年,在Somdej PhraRamathibodi 1期间(Phrachao U-thong),大城府的第一位国王,将那空那育确定为东部边境城市(华富里市是北部边境城市,Nakhon Khueankhan市是南部边境城市,和素攀武里市是西部边境城市,从边境城市到大城府的距离是2天)。在皇帝统治期间,东部的华富里区和西部的那空那育区建立为北标。在朱拉隆功国王(拉玛五世国王)统治时期,1902年,他改革了新的统治,称为省政府。成立巴真武里省包括巴真武里市,北柳市,那空那育市,帕侬沙拉堪市,PhanatNikhom市,春武里市,和Banglamung市。1943年,陆军元帅P. Pibulsongkram政府倒塌,包括那空那育府BanNa区与北标省一起,并解散那空那育市,AmphoeOngkharak,和AmphoePakplee一起加入巴真武里。

1946年5月8日,有关于建立北榄,暖武里,龙仔厝和那空那育的法案。1946年,第6节,确定了Amphor 那空那育,AmphoeOngkharak和AmphoePakplee与巴真武里政府的分离。和班纳区分开了萨拉布里政府,并成立了该省名为那空那育府。
“那空那育”这个名字的历史有两个假设:在过去,那空那育的土地是一片荒野森林,因此许多人迁移到几乎荒废的其他地方。然后有国王,没有证据表明在任何时代(可能是国王Ramathibodi 1或大城的Phrachao U-thong之前的时期,因为那空那育这个名字出自Phrachao U-thong时代)。除税收外,国王需要鼓励当地人清理森林以在这一地区谋生。该镇被称为“Na-Yok(除了田地税)”,是那空那育市。第二个原因是在大城时期,首都政府使用第四纪制度。市中心区划,北部地区的外区由民事和军事部门管理。在南部地区,有军事和民事部门。那空那育最初属于军事部门,在被转移到大臣之后,这个区域从此被称为那空那育。