อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
ขวัญเมือง
14.17
ขวัญเมือง
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามขวัญเมืองมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ..
14.17
ข้อมูลทั่วไป : เมืองนครนายก

ประวัติความเป็นมา

เมืองนครนายกนี้จะตั้งมาแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานการตรวจสอบเป็นเมืองเก่าแก่ มีความสำคัญตั้งแต่ครั้งโบราณการ ปรากฏชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นเมืองหน้าด่านตะวันออก ระยะทางไปมาถึงกรุงศรีอยุธยาได้ภายใน 2 วัน แม้ในสมัยนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองโภคทรัพย์ของประเทศไทยภาคกลาง มีการติดต่อกรุงเทพได้ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยที่เมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านตามประวัติศาสตร์ กำแพงเมืองยังมีเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยาน กำแพงมี 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นกำแพงดิน ชั้นในเป็นกำแพงอิฐ มี 3 ด้าน คือ ด้านตะวันออก ด้านเหนือ และด้านตะวันตก ด้านใต้ ไม่มี คงจะถือว่ามีลำน้ำนครนายกกั้นอยู่แล้ว จึงได้สร้างกำแพงด้านนั้น คนโบราณเรียกเมืองนี้ว่าเมืองอกแตก เพราะมีกำแพงเพียง 3 ด้าน เดิมกำแพงคงจะสร้างไว้สูงเพื่อป้องกันข้าศึกในสมัยนั้น และปรากฏตามประวัติศาสตร์ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช (เสวยราชครั้งที่ 1) มีอยู่ตอนหนึ่งว่าพระองค์ทรงปรึกษาว่าเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมืองสุพรรณบุรี 3 เมืองนี้ควรจะร้างเสียหรือเอาไว้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระราเมศวรมหินทราธิราช กับมุขมนตรีพร้อมกันกราบทูลว่าจะให้ปรับหัวเมืองนั้น ถ้ารับได้ก็จะเป็นคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึกก็จะอาศัยให้รื้อกำแพงเสียดีกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม เข้าใจว่ากำแพงเมืองนครนายกคงถูกรื้อในสมัยนั้น และรื้อออกยังไม่หมดยังเหลืออยู่สูงบ้างต่ำบ้าง เมื่อราว พ.ศ.2452 ซากกำแพงชั้นในยังปรากฏอยู่พอสังเกตได้ว่าแนวกำแพงเมืองอยู่ตรงไหน ที่มีของคำว่า "นครนายก" นั้น มีผู้เล่าต่อ ๆ กันมาว่า เมืองนี้ในสมัยโบราณเป็นพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่า ราษฏรอาศัยอยู่ก็มีจำนวนน้อย ข้าวปลาอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์ ราษฏรจะทำไร่ไถนาต้องเสียค่าหางข้าวให้รัฐบาล (ค่านา) ราษฏรยากจนผลได้รับไม่พอกับที่เสียไป จึงเที่ยวหาแลกจากที่อื่นซึ่งอยู่ห่างไกล ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งในสมัยนั้น (สมัยใดไม่ปรากฏ) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเว้นไม่ต้องเก็บค่าหางข้าวจากชาวนา ทรงอนุญาตให้ราษฏรทำนาในแถบพื้นที่ตามใจชอบ เมื่อข่าวอันนี้แพร่หลายออกไป ราษฏรชาวเมืองอื่นก็พากันอพยพครอบครัวเข้ามาตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาทำมาหากินในแถบที่ยกค่านานี้ ต่างก็เที่ยวจับจองการสร้างทำนาเป็นอาชีพราษฏรจึงพากันเรียกพื้นที่นี้ว่า "เมืองนครนายก" หรือ "นครนายก"  เรียกสั้น ๆ ว่า ครยก (คอระยก) แม้เดี๋ยวนี้ชาวบ้านคนเก่า ๆ ยังเรียกเมืองนครนายก แต่ผู้เฒ่าบางคนค้านว่าไม่จริง รัฐบาลไม่เคยยกค่านาให้เมืองนี้ เว้นแต่ตำบลเขาใหญ่ในเขตอำเภอปากพลี สมัยนานมาแล้วรัฐบาลเคยยกค่านาให้จริง แต่ผู้ค้านก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นมาอย่างไร อำเภอนี้เดิมเรียกว่าอำเภอวังกระโจม เพราะตัวที่ว่าการตั้งอยู่ที่ตำบลวังกระโจม ริมแม่น้ำนครนายกฝั่งซ้ายระหว่างวัดส้มป่อยกับวัดอินทาราม ตั้งอยู่ช้านานเพียงใดไม่มีหลักฐานตรวจสอบ ต่อมาราวปี พ.ศ.2439 ทางการจึงจัดการรื้อถอนจากที่เดิมมาตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองริมแม่น้ำนครนายกฝั่งขวา สมัยนั้นพื้นที่ในกำแพงเมืองมีป่าละเมาะ ราษฏรเข้าทำนาปลูกบ้านเป็นหย่อม ๆ บนกำแพงเมืองมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น เจ้าเมืองสมัยนั้นจึงสั่งให้ราษฏรที่อยู่ในกำแพง ย้ายบ้านเรือนออกไปอยู่นอกกำแพง เกณฑ์ราษฏรถากถางต้นไม้ปรับพื้นที่ให้เตียน สร้างสถานที่ราชการขึ้น ตัวที่ว่าการอำเภอก็ย้ายไปปลูกใหม่ห่างจากที่เดิมราว 200 เมตร (คือข้างศาลจังหวัดนครนายกด้านตะวันออกปัจจุบัน) ต่อมาที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมประกอบกับกระทรวงยุติธรรมจะปลูกสร้างศาลจังหวัดขึ้นใหม่ตรงใกล้ ๆ กับที่ว่าการอำเภอ จึงได้เจรจากับกระทรวงมหาดไทยขอรื้อถอนที่ว่าการอำเภอเมืองนครนายก ในปี พ.ศ.2474 และให้ยืมศาลใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2494  จึงได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ตามแบบมาตรฐานที่ว่าการอำเภอชั้นตรี สถานที่ปลูกสร้างอยู่ระหว่างเรือนจำจังหวัดนครนายกกับวัดศรีเมือง ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันเสาร์ที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2495 สร้างเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2495 เจ้าหน้าที่ได้มาประจำทำงาน ณ ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2496
         ที่มาของคำว่า "วังกระโจม"  คนเก่าเล่าต่อกันมาว่าเมื่อนานมาแล้วมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยน้ำมาจากทางเหนือตามลำน้ำนครนายก แล้วมาวนเวียนอยู่ตรงคุ้งน้ำหน้าศาลเจ้าใกล้กับตลาดวังกระโจมแล้วจมลงที่นั่น ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแถวนั้นว่า "บ้านวังพระจม" ต่อมาชาวบ้านเรียกชื่อนั้นเพี้ยนไปเป็น "บ้านวังกระโจม"  ในราวปี พ.ศ.2482 ทางการได้เปลี่ยนนามอำเภอเป็น "อำเภอเมืองนครนายก" เพราะเป็นอำเภอที่ตั้งจังหวัด ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2486 ทางการยุบจังหวัดนครนายกโอนการปกครองอำเภอนี้ไปขึ้นจังหวัดปราจีนบุรี จึงเปลี่ยนนามอำเภอเป็นอำเภอนครนายก จนถึงทุกวันนี้ 

อำเภอเมืองนครนายกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี) และอำเภอปากช่อง (จังหวัดนครราชสีมา) 

- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอปากพลี

- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากพลี อำเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี)และอำเภอองครักษ์ 

- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และอำเภอแก่งคอย (จังหวัดสระบุรี)

เนื้อที่อำเภอเมืองนครนายก 712.25 ตร.กม. 

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ ถ.ศรีเมือง ต.นครนายก อ.เมือง จ.นครนายก 26000

หมายเลขโทรศัพท์ 0-3731-1270

หมายเลขโทรสาร 0-3731-2721